โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่น้ำพื้นที่ชุ่มน้ำหนองกระทุ่มโปง

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่น้ำพื้นที่ชุ่มน้ำหนองกระทุ่มโปง

การศึกษาศักยภาพ ความเหมาะสมและสำรวจออกแบบ
โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่น้ำพื้นที่ชุ่มน้ำหนองกระทุ่มโปง
อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง

เจ้าของงาน : กรมทรัพยากรน้ำ
โครงการเริ่มต้นและสิ้นสุดตามสัญญา : 23 มิ.ย. 54 – 17 พ.ค. 55
ระยะเวลาดำเนินการ : 330 วัน

พื้นที่ชุ่มน้ำหนองกระทุ่มโปง ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 3 บ้านแม่เชียงรายลุ่ม ตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่รวมประมาณ 900 ไร่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน พืชและสัตว์ ทั้งทางนิเวศวิทยาและสังคมในระดับท้องถิ่นมาหลายชั่วอายุคนจนกระทั่งถึงปัจจุบันหนองกระทุ่มโปงมีสภาพเสื่อมโทรม รกร้าง พื้นที่ถูกบุกรุกเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยาและระบบนิเวศวิทยา เป็นผลทำให้เกิดปัญหาการตื้นเขิน คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมและมีปริมาณสัตว์น้ำลดลง กรมทรัพยากรน้ำเห็นถึงความจำเป็นต้องเร่งรัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรให้เป็นไปอย่างถูกทิศทางสามารถใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำและเป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชและสัตว์ประจำถิ่น โดยให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากหนองกระทุ่มโปงอย่างยั่งยืนต่อไป

1.มีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและแผนงานการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำในหนอง-กระทุ่มโปง และหนองน้ำที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน

2.หนองกระทุ่มโปงได้รับการฟื้นฟูให้กลับคืนความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เกิดความสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

3.มีแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค อุตสาหกรรมและการเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้ง และป้องกันบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน

4.มีการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น โดยราษฎรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินโครงการ การบริหารจัดการ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม

1.มีแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และแผนงานการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำในหนองกระทุ่มโปง และหนองน้ำที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน พร้อมทั้งสำรวจออกแบบโครงการเร่งด่วน

2.หนองกระทุ่มโปงได้รับการฟื้นฟู ให้กลับคืนความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เกิดความสมดุลของระบบนิเวศแลสิ่งแวดล้อม

3.มีแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ในช่วงฤดูแล้ง ละป้องกันบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝน

4.มีการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสม และเพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน