โครงการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและผลกระทบทางสังคม

โครงการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและผลกระทบทางสังคม

โครงการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผลและผลกระทบทางสังคม และสิ่งแวดล้อมของโครงสร้าง
ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย

เจ้าของงาน : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
โครงการเริ่มต้นและสิ้นสุดตามสัญญา : 24 มิ.ย. 54 – 18 มิ.ย. 55
ระยะเวลาดำเนินการ : 360 วัน

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 2,815 กิโลเมตร มีแนวฝั่งทะเล 2 ด้าน ได้แก่ ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาวประมาณ 1,801 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามันมีความยาวประมาณ 1,014 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด พื้นที่ชายฝั่งทะเลนับเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากร จึงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปัจจุบันประสบกับปัญหาการกัดเซาะ โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนบนและอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ เนื่องจากการสูญเสียที่ดิน ทรัพย์สิน ทรัพยากรธรรมชาติของภาครัฐและประชาชน ความจำเป็นในการดำเนินโครงการศึกษา สำรวจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพและผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลประเทศไทย เพื่อศึกษา สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาด้านการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยใช้โครงสร้าง ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยระบบสารสนเทศ (Geographic Information System-GIS) พร้อมทั้งวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้รูปแบบโครงสร้าง 8 กรณีศึกษาในพื้นที่ชายฝั่งทะเลซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไปแล้ว และนำไปกำหนดแนวทางในการคัดเลือกมาตรการ การป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่งตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติโดยรวมต่อไป

1.เพื่อศึกษา สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาด้านการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและผลกระทบที่เกิดขึ้น ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 8 จังหวัด (ได้แก่ จังหวัดระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และสงขลา)

2.เพื่อศึกษา สำรวจรูปแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่ดำเนินการของภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมจัดทำเป็นฐานข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)

3.เพื่อศึกษา วิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 8 จังหวัด (ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และสงขลา) ที่ดำเนินการของภาคส่วนต่าง ๆ กรณีศึกษาทั้ง 8 รูปแบบ

กรณีที่ 1 กำแพงกันคลื่น (Sea wall) อย่างน้อย 1 โครงการ
กรณีที่ 2 เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Offshore break water) อย่างน้อย 1 โครงการ
กรณีที่ 3 เขื่อนหินทิ้ง (Revetment) อย่างน้อย 1 โครงการ
กรณีที่ 4 กำแพงปากแม่น้ำ (Jetty) อย่างน้อย 1 โครงการ
กรณีที่ 5 เขื่อนดักตะกอน (Groin) อย่างน้อย 1 โครงการ
กรณีที่ 6 เขื่อนไม้ไผ่กันคลื่น อย่างน้อย 1 โครงการ
กรณีที่ 7 เข็มคอนกรีตสลายพลังคลื่น อย่างน้อย 1 โครงการ
กรณีที่ 8 ไส้กรอกทราย อย่างน้อย 1 โครงการ

4.เพื่อรับฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ต่อผลการศึกษาโครงการการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของโครงการสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 8 จังหวัด (ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และสงขลา)

1.เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทาง มาตรการเบื้องต้นในการคัดเลือกมาตรการในการจัดการ ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และข้อเสนอแนะ แนวทางในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

2.รวบรวมข้อมูลโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย

3.ข้อเสนอแนะแนวทางในการคัดเลือกมาตรการในการจัดการ ป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ และข้อเสนอแนะแนวทางในการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

4.เกิดการบูรณาการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในเชิงพื้นที่ และการมีส่วนร่วมมากขึ้น

5.ลดระยะเวลาในการป้องกัน แก้ไข และลดมูลค่าความเสียหาย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล